สอนเด็ก ใช้ AI วาดภาพ NFTs ด้วย Wombo Art (แบบละเอียดยิบ)

ช่วงนี้กระแสวาดภาพด้วย AI กำลังมาไม่ว่าจะทั้งในประเทศและต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นภาพสวยๆ  โดยใช้เทคโนโลยี Deep Leaning เข้ามาด้วย Generator ขึ้นมาตาม Data Set หรือ Model ซึ่งมีหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น Wombo Art, Midjourney,Craiyon  และเจ้าอื่นๆที่ใช้ AI ในงานศิลป์ บทความนี้โค้ดคิดส์เราขอเกาะกระแสบ้างนะโดยวันนี้เราจะมาสอนเด็กใช้ AI วาดภาพกันค่ะ หลักการทำงานของ AI สอนภาพด้วย Generate Images โดย Text Prompt โดยก่อนอื่นเราต้องมาเข้าใจทำไม AI ถึงรู้ว่าเราต้องการจะสร้างภาพได้อย่างไร โดยเราขออธิบายง่ายๆ ด้วย Algorithm แบบนี้ ซึ่งเบื้องหลังของเทคโนโลยีเหล่านี้คือ โมเดล AI ทำงานอย่างไรโมเดลที่ใช้เรียกว่าโมดูล “DALLE mini” ของ craiyon.com จะใช้โมเดลที่เรียกว่า “DALLE mega” ที่ได้รับได้รับการฝึกโดยใช้ Google TRC   เคล็ดลับ!! ในการสร้างภาพที่ดีขึ้นเป็นความคิดที่ดีที่จะเจาะจงเสมอ […]

Support Team Codekids

12 August 2022

5 เว็บไซต์สอน Coding ช่วยให้เด็กแก้เบื่อให้สนุกจากการเรียน

สวัสดีค่ะวันนี้เราจะมาแนะนำ 5 เว็บไซต์สอน Coding ช่วยให้เด็กแก้เบื่อและสนุกกับการเรียน ไม่เบื่อจากการเรียนโดยการสร้างจุดเปลี่ยนจุดโฟกัสและพาเขาไปเล่นกับเทคโนโลยีที่สามารถดึงความสนใจเขาให้กลับมาจดจอสร้างความว้าวให้น้องๆและ แถมสามารถใช้เว็บไซต์พวกนี้สอนเรื่องเทคโนโลยีและโค้ดดิ้งกับพวกเขาได้อีกด้วย 1.เว็บไซต์ Emupedia EmuOS เป็นเว็บไซต์ที่จำลองหรือ emulator ระบบปฏิบัติการยุคเก่าอย่าง Windows 98 ให้เด็กยุคใหม่ได้ เข้าไปสัมผัสของอดีตของเทคโนโลยีว่ากว่าจะมาเป็น Windows หรือ Mac OS อย่างทุกวันนี้ โดยใน EmuOS จะมีโปรแกรมเก่า และ เกมสมัยเครื่องในยุคนั้นเติมไปหมดเลยใครที่เกิดในยุคนั้นต้องช่วยแน่น โดยเด็กสามารถใช้งานและคลิกเข้าโปรแกรมหรือเล่นเกมในนี้ได้เลย มีทั้งเกม pikachu วอลเลย์บอล , โปรแกรม Pen ให้น้องเขาลองเล่นและได้เรียนรู้ถึงเทคโนโลยีสมัยก่อนและเกมยุคก่อนอีกด้วยค่ะ เป็นการสร้างความประทับใจและสร้างความสนใจให้น้องเขากลับมาสนใจการเรียนอีกครั้งหนึ่งได้ เราอาจจะบอกเขามาเดี๋ยวเรามาสร้างให้เหมือนแบบนี้ก็บ้างนะ กระตุ้นความยากเรียนขึ้นมาได้ดี 2.เว็บไซต์ Symphony of Blockchain อันนี้เป็นอีกหนึ่งเว็บไซต์ที่เจ๋งมากที่เราอยากจะแนะนำทุกคนให้นำไปใช้สอนนำไปตอบข้อสงสัยว่าเทคโนโลยี Blockchain มันมีหน้าตาและทำงานยังไง โดย Symphony of Blockchain นำเสนอจำลองโลกของ Blockchain เป็นบล็อก Polygon มีหลายโลกและหลายหลากรูปแบบให้เด็กได้เข้าไปเล่นและผจญภัยในโลกของเทคโนโลยีใหม่ และเราก็จะได้สอนเด็กได้ให้เห็นภาพของมันด้วยว่ามันทำงานยังไงในโลกของใหม่ให้พวกเขาเห็นมันและเข้าใจมันด้วยการสัมผัสเอง […]

Support Team Codekids

21 July 2022

รู้จัก Coding และเหตุผลว่า? ทำไมเด็กถึงต้องเรียนเพื่อความสำคัญในอนาคต

“โค้ดดิ้ง (Coding) ไม่ได้จำกัดความเเค่เขียนโปรเเกรมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น” หัวใจหลักของ Coding คือ การเขียนสัญลักษณ์เพื่อบอกลำดับขั้นตอน ลำดับความคิดเพื่อสื่อสารให้ AI หรือคอมพิวเตอร์เข้าใจสอนเด็กๆให้มีทักษะ Problems Solving การเเก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องจักรที่สร้างขึ้นมาเพื่อ “แก้ปัญหา” ให้กับพวกเราแต่คอมพิวเตอร์จะแก้ปัญหาไม่ได้ถ้ามันไม่รู้วิธีว่าจะแก้ยังไง จริงมั้ยค่ะ? การเขียนโปรแกรมก็เหมือนกับการสอนวิธีแก้ปัญหาต่างๆ ให้คอมพิวเตอร์ Coding คือ การเขียนชุดคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย “โค้ด (Code)” หรือ การจัดลำดับความของคำสั่ง เพื่อให้โปรแกรมทำตามคำสั่งอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือการสั่งงานคอมพิวเตอร์ให้ทำตามที่เราต้องการโดยการใช้ภาษาของคอมพิวเตอร์และแน่นอนมีหลายประเทศที่ได้บรรจุเรื่อง Codingเข้าไปในหลักสูตรให้เด็กเรียนเรียบร้อยแล้วประเทศญี่ปุ่นกำหนดวิชา Coding เป็นวิชาพื้นฐานของการเรียนการสอนของเด็กประถม โดยบรรจุเป็นหลักสูตรการเรียนการสอน “วิชาบังคับ”ในโรงเรียนชั้นประถมศึกษาทั่วประเทศ ตั้งแต่ Grade 5 ซึ่งเทียบเท่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 5เริ่มเรียนตั้งแต่เดือนเมษายน 2020 โดยเนื้อหาจะปูพื้นฐานความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมและสอนการเขียน Coding เบื้องต้น ตัวอย่างเนื้อหาที่สอนให้เด็กป. 5 เช่น สอนให้นักเรียนวาดรูปทรงเหลี่ยมต่าง ๆ ด้วยระบบดิจิทัลและเขียนคำสั่งแบบง่าย ๆ เช่น เพื่อให้หลอดไฟ LED กะพริบ โดยมี จุดประสงค์ของวิชาดังกล่าวไม่ใช่เพียงแค่การรู้และเข้าใจเรื่องเทคโนโลยีแต่ยังช่วยให้เด็กฝึกการใช้กระบวนการคิดที่เป็นระบบและเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย […]

Support Team Codekids

15 July 2022

5 ประโยชน์สำคัญที่เด็กจะได้จากการเล่น Roblox ผู้ปกครองควรรู้!!

สำหรับยุคนี้ไม่มีเด็กบ้านไหนหรือที่ไหนที่จะไม่รู้จักและไม่เล่นเกมนี้โดยถ้าสังเกตเวลาน้องๆ คุยกับเพื่อนก็มักจะมีคำศัทพ์ว่า เล่น World ไหน ? เปรียบเหมือนว่าเป็นโลกอีกใบของพวกเขา ผู้ปกครองหลายคนก็อาจวิตกกังวลบ้างใช่ไหมล่ะค่ะว่าถ้าปล่อยให้เล่นและติดเกมนี้มากไปจะมีภัยกับเขารึป่าวซึ่งวันนี้โค้ดคิดส์เราจะมาแนะนำ 5 สิ่งที่เด็กจะได้จากการเล่น Roblox โดยเป็น Virtual Worlds แพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ที่รวมผู้เล่นไว้ทั่วโลกกันโดยปัจจุบันมีผู้เล่น 200 ล้านคนทั่วโลกในปี 2021  หลากหลายภาษามี สังคม และเด็กสามารถต่อยอด นักพัฒนา สร้างโลก  ได้ด้วยตัวเองโดยใช้ Coding ภาษา Luna ตามคอนเซ็ปต์ของการเรียนรู้แบบสนุกและเล่นได้ ประกอบด้วย 5 ข้อดังนี้ค่ะ 1.Roblox ทำให้เด็กรู้จักโลก Virtual Worlds ณ ปัจจุบันนี้  Roblox  ไม่ได้เป็นแค่เกมแล้วแต่เป็นแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ที่รวมผู้เล่นไว้ทั่วโลกสามารถเข้าและออกจากโลกเสมือนจริงมากมาย อาทิ โลกไดโนเสาร์,หุ่นยนต์,อนิเมะชั่นให้เด็กได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับ โลกสเหมือนเหล่านี้ผ่านกิจกรรมในเกมเกมผ่านการเล่นในนั้นเป็นการเรียนรู้ผ่านการเล่นได้สัมผัสกับโลกอีกใบเป็นการปูพื้นฐานโลกในที่ 2 อย่างเมต้าเวิสได้ดี แถมยังได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่นใช้กฎเกณฑ์แบบตามโลกนั้น 2. Roblox ทำให้เด็ก มีทักษะ Coding Skills Roblox ช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้การเขียนโปรแกรมและทักษะการเขียนโปรแกรมในมุมมองนักพัฒนาโลกจำลองของตัวเองบนโลก […]

Support Team Codekids

4 July 2022

CodeKids สรุปมาให้คุณ 10 นาที ปี 2020 A.I หน้าตายังไง?

ใน The Age of A.I. ซีรีส์ใหม่จาก Youtube Original ปัจจุบัน A.I. หน้าตาเป็นยังไงบ้างเเล้วในปี 2020 ด้วยสารคดีใหม่จาก Youtube ที่ได้จัดทำให้เราได้ดูเเบบฟรี!! ในวันที่ 18 ธ.ค. 62 ที่ผ่านมา Robert Downey Jr. หรือ Iron Man เป็นผู้ดำเนินรายการเน้นให้เราได้ดูเเละรู้ถึง AI ว่าจะมีหน้าตาอย่างไรในอนาคตโดย Youtube ได้จัดให้เราเเบบจุใจ เลย 8 ตอนโดยเเต่ละตอนก็จะพูดในเเต่ละหัวข้อที่แตกต่างแต่เข้าใจ **3 นาทีเเรก Robert Downey Jr. จะพูดถึงว่า Machine Learning Algorithm Computer Vision Big Data คืออะไร เพื่อให้เรารู้ว่ามนุษย์กำลังทำอะไรกันอยู่ ในซีรีส์ทั้ง 8 ตอน ให้ความรู้สึกเหมือนกับว่าดูสารคดีของ “โทนี่ สตาร์ค” […]

Support Team Codekids

13 December 2020

Tips Coding : เทคนิคการจำข้อมูล แบบ “บิล เกตส์”

บิล เกตส์ ใช้เทคนิคอะไร ? การจำเเละบันทึกข้อมูลกับเกี่ยวกับสิ่งที่เขาอ่านได้ตลอดแบบไม่มีวันลืม CodeKies จะมาแกะเคล็ดลับของเขากันค่ะโดยเขาได้เคยให้สัมภาษณ์ผ่าน Youtube ช่อง Quartz เมื่อปี 2019 บิล เกตส์ จำข้อมูลสิ่งที่เขาอ่านได้อย่างไร? โดยเขาได้ให้สัมภาษณ์ผ่าน Youtube ช่อง Quartz โดย บิล เกตส์ จะเปรียบสมองนั้นต้องมีการตั้งค่าเพื่อที่จะเรียนรู้ก่อนให้เป็นระบบซึ่งสอดคล้อดกับหลักการของ Computational Thinking ที่เด็กๆจะได้เรียนในวัยประถม – มัธยมเเละเป็นทักษะติดตัวไปยังในยุคที่ทุกอย่างมีเเต่เทคโนโลยีให้เลือกใช้เติมไปหมดอาทิ 5G , ML , AI ให้เด็กได้อยู่ร่วมกับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด หากเราต้องการเรียนรู้ Science ถ้าได้ลองอ่านประวัตินักวิทยาศาสตร์เเละเรื่องราวของพวกเขาที่มีความพยายามเเละช่วงเวลาอยากลำบากเเละสับสนกับเครื่องมือเเละข้อมูลเชิงลึกต่างๆ ในการตั้งค่าสมองของพวกเขาให้สอดคล้อดกการทดลองอะไรใหม่เพื่อที่จะทำให้พวกเขาก้าวไปข้างหน้าในสิ่งที่เขาไม่รู้ บิล เกตส์ ได้บอกว่าความรู้ที่เพิ่มขึ้นจึงง่ายกว่ามากเมื่ออ่านในสิ่งที่เชื่อมโยงถึงสอดคล้องกัน อ่านหรือเรียนในสิ่งที่ผมสามารถเชื่อมโยงกันได้ เช่น ถ้าอยากรู้จักกรุงโรมและเบื่อรู้เรื่องกรุงโรมเป็นคนเเรกทำไม ผมเลยอ่านเรื่องโรมผมกำลังอ่านเกี่ยวกับ Queen Victoria แทนก็ได้ความรู้เกี่ยวกรุงโรมและทำให้ผมอยากจะเรียนรู้เกี่ยวกับกรุงโรมด้วยและ ขอบเขตของเรื่องทั้งหมดแล้วมันเป็นเรื่องที่สนุกที่จะพูดว่าโอเครนี่คือที่มาของโรมเเละสิ่งที่ผมรู้ครั้งแรกมันขัดเเย้งกับ สิ่งที่ผมรู้มาก่อนมาได้อ่านทำให้รู้จักโรม ดีขึ้นคุณรู้ไมว่ามันรบกวนคุณมากเมื่อคุณอ่านสิ่งต่างๆ เเละมีบางอย่างที่ไม่สอดคล้อดกัน ผมชอบเล่นหมากมุกมากและชอบเทคนิคนี้มาใช้หากนำกระดานหมากรุกมาวางสุ่มเเละขอให้คนเล่นหมากรุกจดจำพวกเขาไม่สามารถทำได้เพราะทุกอย่างเกี่ยวกับตำเเหน่งหมากรุกเป็นเรื่อง Logic ( […]

Support Team Codekids

23 November 2020

ภารโรง คือ ครูเทคนิคการสอนที่เราต้องรู้เบื้องหลังความสำเร็จ

สอนหมากรุกให้เด็กสาวจนกลายเป็นแชมป์โลกเป็นหนังที่ดีมากๆ เรื่องราวที่มีความสมจริงของตัวละครตั้งแต่เด็กที่เป็นเด็กกำพร้า ที่แม่พยายามฆ่าลูกตัวเองให้ตายโดยการขับรถชนแต่เด็กสาว เราต้องมองให้ออกว่าคู่แข่งที่เล่นด้วยจะไปทางไหน เราต้องจำทิศทางการเดินใหม่ๆให้ได้ เราต้องใจเย็น เพราะอารมณ์ร้อนทำให้การคิดคำนวณผิดพลาด ดังนั้นผู้เล่นฝั่งตรงข้ามชอบทำตัวยียวนกวนสมาธิบ่อยๆ ถ้าแพ้คือแพ้ แพ้อย่าฝืน หรือถ้าเราจะแพ้เราต้องเก็บอาการไว้ อย่าแสดงออกมา เพราะคู่แข่งจะเห็น ก่อนเล่นต้องจับมือ ยิ้ม หลังเล่นต้องจับมือ เป็นการจับมือคู่แข่งที่ค่อนข้างเลือดเย็นทีเดียว จะเห็นได้ว่าความฝึกซ้อมอย่างเดียวไม่พอ ต้องใช้ EQ และ SQ เข้ามาด้วยจนเธอได้มีครอบครัวหนึ่งอุปการะ ส่งเธอเรียนหนังสือ แต่เธอเลือกที่จะไปแข่งหมากรุกเพราะต้องการหาเงินมาช่วยเหลือพ่อแม่อุปถัมป์จนกลายเป็นคนที่มีชื่อเสี่ยง โด่งดัง และทั้งใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือยเลยทีเดียวเรามาดูวิธีการคิดของ เบธ ฮาร์มอน กันดีกว่า กล้าที่จะร้องขอ ไม่ว่าขอให้ภารโรงช่วยสอน ขอเงินเพื่อไปแข่งขันในวันที่ถังแตก ขอโอกาส สิ่งเหล่านี้เบธ ฮาร์มอน กล้ามาตั้งแต่เด็ก สู้ ไม่ยอมแพ้ เรียกได้ว่าเธอเป็นคนที่แพ้ไม่เป็นเลย ถ้าแพ้จะหัวเสีย อารมณ์ขึ้น และต้องใช้ยาเพื่อระงับสติบ่อยๆ ซึ่งยาเหล่านี้ทำให้เธอเล่นหมากรุกได้ดี ทำให้เธอเรียงลำดับการเล่นบนเพดานก่อนนอนทุกคืน (อย่าที่เห็นในตัวอย่าง) ความพยายาม เบธไม่ใช่แค่ใช้ยาช่วยเท่านั้นถึงได้มาถึงตรงนี้ แต่เบธอ่านหนังสือทุกเล่มที่คู้ต่อสู้ให้สัมภาษณ์ อ่านหนังสือการเล่นทุกเล่ม ฝึกตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำกับข้าว อาบน้ำ หรือในวันที่แข่งเสร็จแล้วเธอจะซ้อมจพกลับมาซ้อมกับเกมเดิมที่เคยเล่นกับผู้เล่น เพื่อดูว่ามีรอยรั่วตรงไหนบ้าง […]

Support Team Codekids

15 November 2020

BossKerati ยูทูปเบอร์ใช้เทคโนโลยี A.I. Vision นับหยดน้ำว่า น้ำ 1 ขวด มีกี่หยดด้วย Computer Vision

ภายในวิดิโอการทดลองคุณบอส จะถ่ายวิดิโอการทดลอง การนับหยดน้ำ เเละ ส่งไปให้ผู้เชียวชาญด้าน A.I. เค้าช่วยใช้โค้ด โปรเเกรมนับการตกของหยดน้ำโดยจะใช้โปรเเกรม ที่ไม่จำเป็นใช้ A.I. อะไรมากมาย ใช้เเค่ “อัลกอรริทึม ธรรมดา” ดังนี้คือ เริ่มจากใช้วิดิโอ Video มาใช้ร่วมกับ Computer Vision ในการตรวจจับ เเละเราใช้วิธีดูว่า ส่วนไหนของวิดิโอมีการขยับ มีการเปลี่ยนเเปลง โดยจะใช้วิธีคิดหรืออัลกอริทึมเเบบนี้ คือ 1.เอาส่วนที่มีการขยับเนี่ยเป็น สีขาว 2.เเล้วส่วนอื่นปล่อยให้ เป็น สีดำ จะออกมาเป็นเเบบนี้ ใน Computer Vision เเละเราก็จะสามารถดูได้ว่าบริเวณที่หยดน้ำหยดเนี่ยมีการขยับรึเปล่า 3.เเละดูค่าเฉลี่ยของบริเวณ นั้นว่ามีความสว่างเท่าไหร่ อย่างเช่น ถ้ามันไม่มีการขยับเลยก็จะเป็นมืด  หรือ ว่าถ้ามีการขยับก็จะเป็นสว่างเเบบนี้ เเล้วเราก็ทำเเบบนี้ไปเรื่อยๆ นับจนจบคลิป จากข้างต้นที่มีการคิดเป็นระบบ จนเป็น อัลกอริทึม เป็นทักษะการคิดเชิงคำนวณ Computational Thinking เพราะ วงการโปรเเกรมเมอร์ มักถูกสอนต่อมากันมาว่า โปรแกรมจะประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้างซึ่งอาศัยหลักการคิดแบบ Computational […]

Support Team Codekids

15 November 2020

ส่องการศึกษา “โค้ดดิ้ง” เด็กในประเทศไทยเรียนอะไรบ้างในชั้นประถมศึกษา?

รู้หรือไม่? ตั้งแต่นี้ต่อไปเราจะมีโค้ดดิ้งสอนในโรงเรียนทั่วไปแล้วให้เด็กเริ่มเขียนโปรแกรมแล้วนะโดยชื่อว่าวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ หรือ (Computing Science) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ – (ฉบับปรับปรุง พ.ศ 2560) และหลักสูตร วิทยาการคำนวณ หรือ Computing Science เพิ่งออกมาครบเมื่อ 2 ปีกว่าๆคือ พฤษภาคม 2561 : ป.1, ป.4 และ ม.1, ม.4 พฤษภาคม 2562 : ป.2, ป.5 และ ม.2, ม.5 ปีนี้ 2563 : ป.3, ป.6 และ ม.3, ม.6 ก่อนจะไปดูการศึกษาโค้ดดิ้งของประเทศไทยเราลองมาดูการศึกษาโค้ดดิ้งในแต่ละประเทศอัปเดตล่าสุดกันก่อนคร่าวๆ อเมริกาทุกรัฐเรียนเขียนโค้ดกันหมดพร้อมกับมี Robot ที่ใช้สอนคือ Cubetto และ Dash and Dot มีคลาสออนไลน์ที่ชื่อว่า Code.org, Google […]

Support Team Codekids

14 November 2020

Coding โค้ดดิ้ง คืออะไร เหตุผลว่าทำไมเด็ก 7-13 ปี ควรเรียนเขียนโปรแกรม

เด็กๆต้องเรียน Coding โค้ดดิ้งเพราะในอีก 3-4 ปี ข้างหน้าเมื่อ A.I. และ 5G เข้ามามีบทบาทมากขึ้นความต้องการทรัพยากรบุคคลหรือที่เรียกว่า “โปรแกรมเมอร์” จะมีเพิ่มมากขึ้นปัจจุบันหากใครที่จบทางด้านการเขียนโปรแกรมสามารถเรียกเงินเดือนเริ่มต้น 30,000 บาท (ตามความสามารถของการเขียนโปรแกรมที่ถนัด เพราะฉะนั้นถ้าศึกษาทางด้านการเขียนโปรแกรมสามารถมีโอกาสและเป็นแต้มต่อให้กับเด็กในการทำงานนในอนาคตได้ดี ปัจจุบันตอนนี้ทางระบบการศึกษาได้นำหลักสูตรการเขียนโปรแกรมเพิ่มเข้าไปในบทเรียนเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ระดับประถม-จนถึงมัธยม (ปกติต้องเรียนปริญญาตรี) โดยให้ความสำคัญกับหัวใจหลักของ Coding (การโค้ดดิ้ง) คือ การเขียนสัญลักษณ์เพื่อบอกลําดับขั้นตอน ลําดับความคิดและสื่อสารให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ อาทิ การแต่งเพลง วางลําดับตัวโน๊ตดนตรี การออกแบบ ลําดับคำสั่ง ซึ่งจะช่วยให้เด็กๆได้เรียนรู้การเขียนโปรแกรมแบบมีลําดับการวางแผน การเขียน (flow chart) เป็นต้น Coding (โค้ดดิ้ง) คือ ประเทศไทยเราจะเรียกอีกอย่าง คือ “วิทยาการคำนวณ” โดยเด็กๆอายุระหว่าง 7-13 ปีควรเรียนไว้เพราะ CEO Google คุณ Sundar Pichai กล่าวถึงความสำคัญของ Coding (โค้ดดิ้ง) ว่า “เราอยากให้เด็กๆ ทุกคนบนโลกตื่นเต้น กับความเป็นไปได้ […]

Support Team Codekids

7 November 2020
1 2 3