รู้จัก Coding และเหตุผลว่า? ทำไมเด็กถึงต้องเรียนเพื่อความสำคัญในอนาคต

“โค้ดดิ้ง (Coding) ไม่ได้จำกัดความเเค่เขียนโปรเเกรมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น” หัวใจหลักของ Coding คือ การเขียนสัญลักษณ์เพื่อบอกลำดับขั้นตอน ลำดับความคิดเพื่อสื่อสารให้ AI หรือคอมพิวเตอร์เข้าใจสอนเด็กๆให้มีทักษะ Problems Solving การเเก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องจักรที่สร้างขึ้นมาเพื่อ “แก้ปัญหา” ให้กับพวกเราแต่คอมพิวเตอร์จะแก้ปัญหาไม่ได้ถ้ามันไม่รู้วิธีว่าจะแก้ยังไง จริงมั้ยค่ะ? การเขียนโปรแกรมก็เหมือนกับการสอนวิธีแก้ปัญหาต่างๆ ให้คอมพิวเตอร์

Coding คือ การเขียนชุดคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย “โค้ด (Code)” หรือ การจัดลำดับความของคำสั่ง เพื่อให้โปรแกรมทำตามคำสั่งอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือการสั่งงานคอมพิวเตอร์ให้ทำตามที่เราต้องการโดยการใช้ภาษาของคอมพิวเตอร์และแน่นอนมีหลายประเทศที่ได้บรรจุเรื่อง Codingเข้าไปในหลักสูตรให้เด็กเรียนเรียบร้อยแล้วประเทศญี่ปุ่นกำหนดวิชา Coding เป็นวิชาพื้นฐานของการเรียนการสอนของเด็กประถม โดยบรรจุเป็นหลักสูตรการเรียนการสอน “วิชาบังคับ”ในโรงเรียนชั้นประถมศึกษาทั่วประเทศ ตั้งแต่ Grade 5 ซึ่งเทียบเท่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 5เริ่มเรียนตั้งแต่เดือนเมษายน 2020 โดยเนื้อหาจะปูพื้นฐานความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมและสอนการเขียน Coding เบื้องต้น

ตัวอย่างเนื้อหาที่สอนให้เด็กป. 5 เช่น สอนให้นักเรียนวาดรูปทรงเหลี่ยมต่าง ๆ ด้วยระบบดิจิทัลและเขียนคำสั่งแบบง่าย ๆ เช่น เพื่อให้หลอดไฟ LED กะพริบ โดยมี จุดประสงค์ของวิชาดังกล่าวไม่ใช่เพียงแค่การรู้และเข้าใจเรื่องเทคโนโลยีแต่ยังช่วยให้เด็กฝึกการใช้กระบวนการคิดที่เป็นระบบและเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย

ขณะที่จีนเองก็มีเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีของโลกและเริ่มมีการนำร่องวิชาเขียนโปรแกรมหรือภาษาคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาล เพราะเขามีเป้าหมายผู้นำระดับโลกด้าน AI (Artificial Intelligence)หรือที่เราเรียกอย่างเป็นทางการว่าปัญญาประดิษฐ์ภายในปี 2573 ไม่ใช่แค่จีนและญี่ปุ่น สหราชอาณาจักรก็เริ่มการสอนแบบนี้เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ส่วนสิงคโปร์สอนมาได้ 2 ปีโดยประเทศอังกฤษประกาศปรับหลักสูตรวิชาคอมพิวเตอร์ที่สอนกันอยู่ในโรงเรียนโดยเริ่มแนะนำให้เด็กรู้จักกระบวนการคิดในทางคอมพิวเตอร์ (Computational Thinking: CT) ตั้งแต่ระดับ Key Stage 1 (อายุ 5-6 ปี) ซึ่งหากเทียบด้วยอายุก็จะเท่ากับอนุบาล 3 ถึงประถม 1 ของบ้านเรา

ในขณะที่อินเดียสอน Coding ให้เด็กก่อนอนุบาลตามหลักพัฒนาการและการเรียนรู้ ตั้งแต่กิจกรรมของเด็กวัยเตาะแตะและก็พัฒนาทักษะการเข้าสังคมการช่วยเหลือตนเองเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าโรงเรียน โดยเริ่มวางแผนให้เด็กวัยกำลังพูดเรียนรู้วิธีเขียน Coding เพราะทุกวันนี้เด็กหลายคนก็ถูกปล่อยให้อยู่กับเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟน แท็ปเล็ตหรือคอมพิวเตอร์กันอยู่แล้วเพราะฉะนั้นแทนที่จะปล่อยให้ลูกเล่นอยู่แต่หน้าจอเราจึงแนะนำว่าพ่อแม่ควรเปลี่ยนอุปกรณ์เหล่านั้นเป็นเครื่องมือในการสร้างองค์ความรู้ให้เขาตั้งแต่เด็กๆจะดีกว่า

โดยหัวใจหลักของ Coding จะประกอบได้ด้วย 3 องค์ประกอบคือ

CS วิทยาการคอมพิวเตอร์

ICT เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

DL รู้เท่าทันดิจิทัล

เรียกได้ว่าหลายประเทศทั่วโลกก็ตระหนักแล้วว่านอกจากภาษาในการสื่อสารแล้วภาษาคอมพิวเตอร์ หรือ Coding เป็นภาษาที่ควรเรียนรู้และก็มีความสำคัญไม่แพ้กันเพราะในอนาคตโลกอันใกล้โลกจะเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว และทุกอุปกรณ์ในชีวิตประจำวันจะกลายเป็นอุปกรณ์ IoTและเศรษฐกิจเกือบทั้งโลกจะทำงานบนพื้นฐานของดิจิทัลเป็นหลักการศึกษาประเทศไทยเราเองก็ให้โค้ดดิ้ง (Coding) วิชาใหม่ที่ใส่เข้าไปในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการและ สสวท.ปรับหลักสูตรโดยเอาสาระเทคโนโลยีที่เดิมทีเคยอยู่ในกลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพโดยเพิ่มเข้ามาอยู่ในกลุ่มสาระฯ วิทยาศาสตร์

ทั้งนี้ กลุ่มสาระเทคโนโลยี ถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1.วิทยาการคำนวณ สำหรับประถมศึกษา-มัธยมศึกษา
2.การออกแบบและเทคโนโลยี สำหรับชั้นมัธยมศึกษา

ภาพจาก : http://oho.ipst.ac.th/

ทำไมลูกเราต้องเรียนกับ Coding (โค้ดดิ้ง) 5 สิ่งสำคัญ สำหรับผู้ปกครองควรรู้!!


1.การคิดคำนวณเป็นทักษะชีวิตที่จำเป็น “การคิดเชิงคำนวณ”


ฝรั่งเขาเรียกว่า ( Computational Thinking ) สิ่งที่สำคัญที่สุด เด็กๆจะถูกสอนให้แก้ปัญหาสอนเทคนิคต่างๆ การคิดเชิงคำนวณ จะสอนให้ทำขั้นตอนอย่างการย่อยปัญหาใหญ่ๆให้เป็นอันเล็กๆสอนให้จดจำรูปแบบสร้างวิธีการแก้ปัญหา ที่จะประสบความสำเร็จ ครั้งแล้ว ครั้งเล่า สิ่งนี้เป็นส่วนทั้งหมดของ การดำเนินการที่ถูกกำหนดให้เป็น “การคิดเชิงคำนวณ” พัฒนารูปเบบความคิดสร้างสรรค์ และ คิดวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน เพราะ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นสิ่งที่มนุษย์ ไม่ควรมองข้าม ทั้งนี้ A.I.ยังไม่สามารถสร้างระบบความคิดสร้างสรรค์ได้เต็ม 100% มนุษย์อย่าง เราหากจะต้องต่อสู้กับ A.I. ให้ได้คือ ความคิด การออกจากกรอบในทางที่สร้างสรรค์

2.โลกปัจจุบันและอนาคตเราต้องใช้ Technology ในชีวิตของพวกเรา


ปัจจุบันทุกวันนี้เราใช้ Technology ในชีวิตพวกเราในตอนนี้ถูกแวดล้อมไปด้วย Technology จำนวนมาก เช่น ในตอนเช่าที่เด็กๆขึ้นรถไฟฟ้า BTS เราใช้บัตร RFID ตอนที่เราจะเดินทางก็ใช้ Google Map นำทางตอนที่เราจะตำเเหน่งอะไรก็ตามเราใช้ Technology แทบทั้งสิ้น สร้างโอกาสด้าน Technology ที่ดีให้กับเด็กๆ เพิ่ม โอกาสในการทำงาน ในอีก 3-4 ปีข้างหน้า เมื่อ A.I. และ เทคโนโลยี 5G เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ความต้องการทรัพยากรบุคคลหรือที่ เรียกว่า โปรแกรมเมอร์ จะมีเพิ่มมากขึ้น

3.การเขียนโปรแกรม ช่วยให้เด็กๆ แสดงพรสรรค์ด้านความคิด


พรสรรค์ด้านต่างๆ ของเขา จะเกิดขึ้นจากการเรียนรู้ และ ฝึกฝน เช่น เรียนกีฬา เรียนศิลป์ เพื่อให้เด็กๆได้แสดงความคิด ความสามารถ ออกมาอย่างสร้างสรรค์ และในปัจจุบันเอง คำว่า แสดงพรสรรค์ด้านความคิด ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การวาดรูป อีกแล้ว ความสร้างสรรค์ สามารถอยู่ได้ในเกมที่พวกเขาเขียนและอยู่ใน Application ที่พวกเขาสร้างได้เองด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ scratch , micro:bit , python

4.ส่งเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ให้เข้าใจมากขึ้นและทักษะทางด้านภาษาที่ดี


ผู้ปกครองหรือเด็กบางคนมองว่า การเขียนโปรแกรมเป็นการผนวกร่วมกับคณิตศาสตร์และคิดว่า การเรียนคณิตศาสตร์มันยาก แต่จะสนุกและเข้าใจมากขึ้นเมื่อมาใช้กับการเรียนเขียนโปรแกรมค่ะ เชื่อเราได้เลยถ้าให้เด็กลองเรียนดูจะติดใจทั้งการ Coding (โค้ดดิ้ง) และคณิตศาสตร์แน่นอน ไม่เชื่อล่ะก็ลองส่งเด็กมาเรียนกับ Codekids ได้นะคะนอกจากนี้ ทักษะการเขียนโปรแกรมที่ต้องมีแล้ว ยังได้ทักษะภาษาอังกฤษก็ต้องได้ด้วยไม่แพ้กันการเรียนภาษาอังกฤษแบบท่องจำอาจจะทำให้เข้าใจช้า แต่การเรียนแบบลงมือทำอย่างการเขียนโปรแกรมเป็นการฝึกในเรื่องของภาษาอังกฤษมากขึ้น

5.การเขียนโปรแกรมเป็นอาชีพที่ต้องการอย่างสูง

เทคโนโลยีเป็นอุตสาหกรรมที่มีความต้องการนักเทคโนโลยีที่มีความสามารถอย่างสูงไม่ว่าจะเป็นบริษัทใหญ่ๆ อย่าง Microsoft และ Apple ผู้คนต้องการผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ที่ใหม่และเป็นนวัตกรรม บริษัท Startup ทางเทคโนโลยี กำลังผุดขึ้นมาทั่วโลกทุกๆวัน Internet of Things (IoT) การแข่งขันเพื่อการท่องเที่ยวอวกาศและการสำรวจ ,ตัวอย่างเช่น NASA และ Health Canada ทั้งหมดนี้กำลังมองหาซอฟต์แวร์ที่สามารถ ผลักดันความคิดริเริ่มไปข้างหน้าได้

ดังนั้นเทคโนโลยีเป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เป็นส่วนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในโลกของเราทั้งหมดถูกขับเคลื่อนโดยซอฟต์แวร์เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ต้องการสำหรับงานในอนาคตการโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่ในอนาคตล้วนต้องการความสามารถในเขียน Coding

ถ้าหากท่านใดสนใจให้ลูกหรือเด็กเขียนโปรเเกรมเป็นและได้รับการเรียนรู้ Coding และ Digital literacy สามารถเริ่มได้ตั้งเเต่ 6 หรือ 7 ขวบได้เลย ลอง Inbox เข้ามาสอบถามได้นะคะหรือเว็บไซต์ Codekids นี้ได้เลย มีความรู้ด้านการเรียนรู้การเขียนโปรเเกรม สำหรับเด็กๆมากมาย https://www.codekids.co/blog/ ติดตามเราได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/codekidsTH/

บทความที่เกี่ยวข้อง

pokémon-unplugged
คุณครู

แจกคู่มือใบงาน Pokémon Unplugged เกมฟรี!! 23 โปรเจคพร้อมเฉลย (ลิขสิทธิ์แท้แน่นอน)

CodeKids เราไปเจอของดีมาเลยอยากจะมาแนะนำต่อเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับคุณครูและผู้ปกครองนำไปใช้สอนเด็กๆ Unplugged Coding