BossKerati ยูทูปเบอร์ใช้เทคโนโลยี A.I. Vision นับหยดน้ำว่า น้ำ 1 ขวด มีกี่หยดด้วย Computer Vision

ภายในวิดิโอการทดลองคุณบอส จะถ่ายวิดิโอการทดลอง การนับหยดน้ำ เเละ ส่งไปให้ผู้เชียวชาญด้าน A.I. เค้าช่วยใช้โค้ด

วิทยาการคำนวณ คือ คิดแบบ Computational Thinking
ขอบคุณภาพจากช่อง BossKerati

โปรเเกรมนับการตกของหยดน้ำโดยจะใช้โปรเเกรม ที่ไม่จำเป็นใช้ A.I. อะไรมากมาย ใช้เเค่ “อัลกอรริทึม ธรรมดา” ดังนี้คือ เริ่มจากใช้วิดิโอ Video มาใช้ร่วมกับ Computer Vision ในการตรวจจับ เเละเราใช้วิธีดูว่า ส่วนไหนของวิดิโอมีการขยับ มีการเปลี่ยนเเปลง

วิทยาการคำนวณ คือ คิดแบบ Computational Thinking
ขอบคุณภาพจากช่อง BossKerati

โดยจะใช้วิธีคิดหรืออัลกอริทึมเเบบนี้ คือ

1.เอาส่วนที่มีการขยับเนี่ยเป็น สีขาว

วิทยาการคำนวณ คือ คิดแบบ Computational Thinking
ขอบคุณภาพจากช่อง BossKerati

2.เเล้วส่วนอื่นปล่อยให้ เป็น สีดำ จะออกมาเป็นเเบบนี้ ใน Computer Vision เเละเราก็จะสามารถดูได้ว่าบริเวณที่หยดน้ำหยดเนี่ยมีการขยับรึเปล่า

วิทยาการคำนวณ คือ คิดแบบ Computational Thinking
ขอบคุณภาพจากช่อง BossKerati

3.เเละดูค่าเฉลี่ยของบริเวณ นั้นว่ามีความสว่างเท่าไหร่ อย่างเช่น ถ้ามันไม่มีการขยับเลยก็จะเป็นมืด  หรือ ว่าถ้ามีการขยับก็จะเป็นสว่างเเบบนี้ เเล้วเราก็ทำเเบบนี้ไปเรื่อยๆ นับจนจบคลิป

วิทยาการคำนวณ คือ คิดแบบ Computational Thinking
ขอบคุณภาพจากช่อง BossKerati

จากข้างต้นที่มีการคิดเป็นระบบ จนเป็น

อัลกอริทึม เป็นทักษะการคิดเชิงคำนวณ Computational Thinking

เพราะ วงการโปรเเกรมเมอร์ มักถูกสอนต่อมากันมาว่า โปรแกรมจะประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้างซึ่งอาศัยหลักการคิดแบบ Computational Thinking การคิดเชิงคำนวณ หัวใจหลักของวิชาวิทยาการคำนวณ ได้เรียนช่วงมหาวิทยาลัย แต่เด็กยุคนี้เริ่มเรียน เรียนหลักการเขียนโปรแกรมตั้งแต่ 7 ขวบกันแล้ววิชาวิทยาการคำนวณนี้สอนเด็กตั้งแต่ประถม ถึง ระดับมัธยม ถือว่าเป็นหลักสูตรบังคับอยู่ในกลุ่มสาระเทคโนโลยี เเละ เริ่มสอนเเล้วในปัจจุบัน

วิชาคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างนี้เป็น ลิขลิทธิ์ของ สสวท.
อัลกอริทึม สอนเด็กเรียนเขียนโปรแกรม
ตัวอย่าง : การสอน อัลกอริทึม ของ Codekids

ซึ่งไม่ว่าจะเรียนเก่งไม่เก่ง ก็สามารถจำ Concept การคิดแบบ (Computational Thinking) การคิดเชิงคำนวณ นำไปใช้ได้ ในชีวิตประจำวันทั่วไปทั้งเรื่องเรียนและเขียนโปรแกรม

เทคนิคการจำ Concept การคิดเชิงคำนวณ ง่ายๆ ด้วย กฎ 3 “ร” ประกอบไปด้วย

  • รู้จักคิดก่อนลงมือทำ
  • รู้จักวางแผน
  • รู้จักวิเคราะห์ปัญหา

เช่น Concept หลักการคิดเชิงคำนวณ หรือ Computational thinking ยกตัวอย่างเช่น Key question: โปรเเกรมเเก้หิวการเดินไปซื้อขนมของเด็ก 5 คน

กิจกรรม : เเบ่งกลุ่มกัน 5 คน เเล้วพิจารณาเลือกวิธีที่เเก้ไขปัญหา ด้วยคำสั่งเเละพัฒนาอัลกอริทึม จากระยะทางที่ใกล้ที่สุด เพื่อเเก้ไขปัญหาหิว

Input รับข้อมูลเข้า

การ์ดคำสั่ง เดินหน้า

การ์ดคำสั่ง เดินหลัง

การ์ดคำสั่ง เดินซ้าย

การ์ดคำสั่ง เดินขวา

การ์ดพิเศษ (วิธีการของตนเอง)

Process กระบวนการทำงาน

เด็กชาย A ก็เลือกเดินหน้าไป 10 ครั้ง เพื่อไป ซื้อ ไอศกรีม

เด็กชาย B ก็เลือกเดินหน้าไป 5 ครั้ง เดินขวา 1 ครั้ง เพื่อไป ซื้อ เค้ก

เด็กหญิง C ก็เลือกเดินตามเด็กชาย B เพื่อเดินไป ซื้อ เค้ก

เด็กหญิง D ก็เลือกฝากเด็กหญิง A,B ซื้อ เค้ก เเละ ไอศกรีม

เด็กหญิง F ก็เลือกเดินหน้าไป 5 ครั้ง เดินซ้าย 1 ครั้ง

เพื่อเดินกลับบ้าน

Output เเสดงผลลัพธ์

เด็ก 5 คน เเก้หิวได้รึเปล่า หรืออิ่มกันไหม

เด็กเเต่ล่ะคน เเก้หิว ด้วยขั้นตอนไหนในโปรเเกรม

ใครเดินไปซื้ออะไรบ้างเพื่อมาเเก้หิว

สรุปการทดลองดังกล่าว คือ น้ำ 1 ขวด 500 มิลลิตร มีหยดน้ำเฉลี่ย 8,198 หยด โดยนับจาก ถ้าเป็น สีดำ จะเป็นตัวเลข 0.00 เเละ ถ้าเป็นสีขาวตัวเลขก็จะเปลี่ยน เป็น 140.0 จากนั้นก็ให้ คอมพิวเตอร์นับ

โดยว่าจากค่าเฉลี่ยของอัลกอริทึมข้างต้นเราก็จะได้คำตอบที่เราต้องการเเล้ว ไม่ต้องเหนื่อยนั่งนับ เองอีกต่อไป ให้คอมพิวเตอร์ทำงานเเบบอัตโนมัติเลยดังในวิดิโอค่ะ ฝากติดตามคุณบอส เพื่อเป็นกำลัใจให้เค้า ผลิตการทดลองใหม่ๆ ให้เรารับชมด้วยนะคะ

จาก ตัวอย่าง ดังข้างต้นจะทำให้เราได้รู้เลยว่า การทดลองด้วยคอมพิวเตอร์ และ การเขียนโปรแกรม จะมีบทความสำคัญในอนาคตไม่ใกล้นี้เอง ดังนั้นเด็กๆ ยุคใหม่นี้ต้องการทักษะพื้นฐานการคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) อย่างมากเพราะหัวใจหลักสูตรนี้ ต้องการ ? ให้นักเรียนที่ได้เรียน

คิดวิเคราะห์ได้ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาจากข้อมูลได้ และ รู้เท่าทันเทคโนโลยี? โดยพื้นฐานการคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) มี 4 องค์ประกอบสำคัญคือ

ขอบคุณภาพจาก : www.csunplugged.org

1.การแบ่งปัญหาใหญ่ให้เป็นปัญหาย่อย (decomposition)

2.การมองหารูปแบบของปัญหา (pattern recognition)

3.การคิดเชิงนามธรรม (abstraction)

4.ออกแบบขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา (algorithm design)

สำหรับพ่อ-เเม่ ผู้ปกครองจะช่วยลูกเตรียมตัวได้อย่างไร?

ผู้ปกครองจะช่วยลูกเตรียมตัวได้อย่างไร

ป.1 – ป.3 เน้นในเรื่องของการคิดและแก้ปัญหาไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์มากนัก

ป.4 – ป.6 เริ่มเรียน block programming ด้วยการใช้ scratch

ม.ต้น ถึงเริ่มมีการใช้ภาษาอย่าง python ในระดับพื้นฐานที่ไม่ยากและซับซ้อน

ม.ปลาย จะเน้นการทำการประยุกต์ใช้ต่อยอดภาษา python เพื่อนำไปใช้ในกับโครงานวิชาอื่นๆ

ผู้ปกครอง หรือ คุณครู ที่กำลังอ่านบทความนี้ นับการทดลองนี้ไปประยุกต์ดูกับการเขียนโปรเเกรม python ได้นะคะ เช่น OpenCV เป็นต้น เเนะนำให้ลองดูวิดิโอต้นฉบับดูนะคะ เพื่ออรรถรสสูงสุดในการทดลอง

ติดตามเราได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/codekidsTH/

ถ้าอยากลูกให้หรือเด็กๆเขียนโปรเเกรมเป็นสามารถเริ่มได้ตั้งเเต่ 6 หรือ 7 ขวบได้เลย ลอง Inbox เข้ามาสอบถามได้นะคะหรือสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ภายเว็บไซต์ Codekids นี้ได้เลย มีความรู้ด้านการเรียนรู้ การเขียนโปรเเกรม สำหรับเด็กๆมากมาย  https://www.codekids.co

Codekids

บทความที่เกี่ยวข้อง

pokémon-unplugged
คุณครู

แจกคู่มือใบงาน Pokémon Unplugged เกมฟรี!! 23 โปรเจคพร้อมเฉลย (ลิขสิทธิ์แท้แน่นอน)

CodeKids เราไปเจอของดีมาเลยอยากจะมาแนะนำต่อเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับคุณครูและผู้ปกครองนำไปใช้สอนเด็กๆ Unplugged Coding