ความแตกต่างระหว่าง Scratch,micro:bit และ Python

เนื่องจากมีคนเข้ามาถามเยอะมากๆ ว่าโปรแกรมแต่ละโปรแกรมมีความแตกต่างกันอย่างไร วันนี้ทีมงาน CodeKids ขอรวบรวมเอาข้อมูลที่มี ทั้งประสบการณ์ของเรา และในหนังสือที่ซึ่งเราอธิบายไปบ้างแล้วแต่วันนี้….. เราก็จะเอามาอธิบายเพิ่มเติมอีกครั้งค่ะ ..โดยโปรแกรมที่นำเสนอคือโปรแกรมที่น้องชั้นประถมและมัธยมต้องเจอ คือ

1.Scratch (สแครช)

2.micro:bit (ไมโครบิต)

3.Python (ไพทอน)

จะมีบทบาทได้อย่างไร เดี๋ยวมาดูกันค่ะ

1.Scratch (สแครช)

เป็นโปรแกรมที่ฮิตมากๆ เพราะทั่วโลกนำมาใช้สอนเด็ก รวมถึงประเทศไทยที่เอา Scratch มาเริ่มสอนชั้น ประถมปีที่ 4 จนไปถึงชั้นมัธยมหลายคนจะบอกว่ามันมีอีก Scratch นะใช่ค่ะ!! อีกอันคือ App Scratch Jr (Junior) ซึ่งสอนเด็กเล็กเข้าใจการเขียนโปรแกรมในรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ห้องนอน ห้องน้ำ จะทำอะไร เดินไปไหน เริ่มโค้ดแบบไหนเอาของใกล้ตัวเด็กเล็กเข้ามาสอนในการเขียนโปรแกรม เพื่อให้น้องๆเรียงลำดับการใช้ชีวิตได้จนมาถึงโปรแกรม Scratch ที่เราจะมาอธิบายในนี้

Scratch เป็นของ MIT Lab ที่พัฒนาเพื่อการศึกษาเด็กแรกๆใช้เป็นเนื้อหาการสอนหลังเลิกเรียนจนตอนนี้เป็นโปรแกรมหลัก และมีแปลภาษามากกว่า 70 ภาษาสิ่งที่ Scratch ทำได้ดีคือ
1. Animation
2. เกม
3. วาดภาพ
4. สามารถใช้ร่วมกับ micro:bit และ Lego EV 3

แต่ด้วยความสามารถในการใช้งานเยอะเราต้องมาเรียงลำดับควมสำคัญว่าควรเริ่มสอนจากตรงไหนเพื่ออะไร และเด็กจะได้อะไรกันนะคะเพื่อให้เด็กเข้าใจมากกว่าการท่องจำ แนะนี่คือสิ่งที่ CodeKids ถนัดมากๆ

ลิ้งค์เข้าสู่โปรแกรม Scratch
https://scratch.mit.edu/projects/editor/?tutorial=getStarted

ลิ้งค์สอนการใช้ Scratch สร้างเกม Dinosaur T-Rex ของ Google

2.micro:bit (ไมโครบิต)

บริษัท BBC ได้ออกแบบบอร์ดมาเพื่อใช้ในการศึกษาโดยเริ่มจากน้องๆที่อายุ 8 ปีขึ้นไป

สิ่งที่ micro:bit สามารถทำได้ดีคือ
– การเขียนโปรแกรมแบบเบื้องต้น
– เข้าใจฟังก์ชั่น
– สามารถต่อยอดเป็น IoT (Internet of Things) และ หุ่นยนต์ได้ หรือแม้แต่เกมก็ทำได้ค่ะ

ทำไมต้อง 8 ปีขึ้นไป จากความคิดเห็นส่วนตัวของ CodeKids กล้ามเนื้อนิ้วมือเค้าเริ่มทำงานได้อย่างเต็มที่ สามารถจับเม้าส์คอมพิวเตอร์ได้อย่างถนัดมือบวกกับน้องเพิ่มเริ่มใช้คอมพิวเตอร์เพิ่งเริ่มฝึกการเขียนโปรแกรมการที่จะให้น้องฝึกเขียนโปรแกรมหน้าจออย่างเดียวอาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นการที่มีบล็อคลากวาง และมีบอร์ด micro:bit อยู่ที่มือ ช่วยให้มีสมาธิในการเขียนโปรแกรมแถมมีฟังก์ชั่นง่ายๆ มีตัวอย่างโค้ดแต่ละโปรเจคช่วยให้เด็กมีกำลังใจในการเขียนโปรแกรม

จากประสบการณ์การสอนของทีมงาน CodeKids เราเคยทดลองการสอนน้องที่ไม่เคยเขียน micro:bit มาก่อน แล้วไปเจอ Scratch หรือ Python ผลปรากฎว่าน้องท่องจำโค้ดมาจาก internet หรือไม่เข้าใจคำสั่งในการใช้อย่างแท้จริง ส่งผลการเรียงลำดับการใช้งานด้วยแต่หากเริ่มจากการเรียนเขียนโปรแกรมผ่าน micro:bitคำสั่งต่างๆ เช่น If, Else, While, Loop พวกเค้าจะเข้าใจคำสั่งและการแทนค่าได้ค่ะ

ลิ้งค์เข้าสู่โปรแกรม micro:bit
https://makecode.microbit.org/#editor

3.Python (ไพทอน)

เป็นภาษาสุดฮอตฮิตที่ไม่ใช่เด็กต้องเรียน รวมถึงโปรแกรมเมอร์ทั่วโลกต้องหันมาใช้ เนื่องจากเมื่อเทียบกับโปรแกรมที่เราเคยเขียนอย่าง Java Script, HTML, CSS, C++, C# ถือว่า Python เขียนได้ง่ายกว่ามากๆ และโปรแกรมนี้คือโปรแกรมที่น้องๆชั้นมัธยมจะต้องเจอจากประสบการณ์การสอนเมื่อปีที่แล้วมีบางโรงเรียนเริ่มสอน Python ด้วยค่ะ ซึ่งความยากคือเทอมที่ 1 น้องเรียน Scratch และเทอมที่ 2 น้องเรียน Python ภายใน 4 เดือนที่มีเวลาในภารศึกษาแค่อาทิคย์ละ 50 นาที / 1 คาบเรียน


สิ่งที่ Python สามารถต่อยอดได้คือ อาชีพ Data Science
โปรแกรมที่ต้องศึกษาเพิ่ม
– Machine Learning
– Deep Learning
– AI

อาชีพ Web Developer
โปรแกรมที่ต้องศึกษาเพิ่ม
– HTML
– JAVA
– CSS

อาชีพ IoT Engineering
โปรแกรมที่ต้องศึกษาเพิ่ม
– micro:bit
– Arduino
– Raspbery Pi

อาชีพ Game Maker
โปรแกรมที่ต้องศึกษาเพิ่ม
– Unity (AR, VR)
– C#

อาชีพ Application Developer
โปรแกรมที่ต้องศึกษาเพิ่ม
– Swift Playground
– Java

อันนี้แค่น้ำจิ้มเพราะโปรแกรม Python บริษัทยักษ์ใหญ่ก็หันมาใช้มากขึ้นอย่างบริษัท Google, Netflix เป็นต้น นั่นแสดงให้เห็นว่าทั่วโลกก็ใช้ อาชีพต่างๆก็ต้องใช้และเด็กไทยก็ต้องใช้เช่นเดียวกันเหมาะสำหรับน้องอายุ 10 ปีขึ้นไป ทำไมต้อง 10 ปีขึ้นไปเดี๋ยวเรามาดูกันนะคะ

1.เรื่องทักษะพื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์เมื่อดาวโหลดแล้วไปที่ไหน เปลี่ยนชื่อตรงไหน

2. พิมพ์ดีด เพราะเปลี่ยนจากการเขียนโปรแกรมแบบบล็อคลากแล้ววางเป็นแบบพิมพ์ล้วนๆ น้องๆต้องเข้าใจและมีทักษะในการพิมพ์
แต่ขึ้นชื่อว่าทักษะอันนี้สามรถเรียนรู้ได้ค่ะ และทีมงานของโค้ดคิดส์ก็มีโปรแกรมฝึกพิมพ์ดีดเวลาที่เจอน้องๆพิมพ์ไม่คล่องด้วยค่ะ 😊

3. ภาษาอังกฤษพื้นฐาน
เพราะเวลาที่เวลาเขียนโปรแกรม เราใช้ภาษาอังกฤษ รวมถึงเวลาที่Error โปรแกรมนี้จะบอกว่าเรา Error เพราะอะไร ดังนั้นเราต้องเข้าใจภาษาอังกฤษแบบพื้นฐานด้วยเพื่อช่วยแก้ไขได้เร็วขึ้น

4. ภาษาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน
นอกจากภาษาอังกฤษพื้นฐาน ต้องเข้าใจเรื่องภาษาคอมพิวเตอร์ด้วยเพื่อช่วยให้การเขียนโปรแกรมง่ายขึ้น, สั้นขึ้น, สะดวกขึ้น
จากการใช้การแทนค่า หรือใช้คำสั่งที่มีความเฉพาะ

ลิ้งค์สอนการใช้ Python 3 นาที
https://www.youtube.com/watch?v=s-LYQNHmc00

ลิ้งค์สอนทำเกมส์ด้วย Python ของ CodeKids เวลา 52.26 นาที
https://www.youtube.com/watch?v=vO93TyTsVGo&t=1571s

ดังนั้นทางทีมงาน CodeKids จึงออกแบบหลักสูตรการเรียนเขียน Python เพื่อปรับพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมให้เข้าใจ
เรียกได้ว่าถ้าปูพื้นฐานดี เค้าสามารถศึกษาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตได้ค่ะ และเราก็มีคลาสของทุกโปรแกรมที่บอกมานี้เพื่อให้น้องๆเข้าใจ ให้สนุก และเอาไปใช้ได้จริง

หากสนใจเรียน Coding สามารถติดต่อสอบถามได้ที่เพจเลยค่ะติดตามเราได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/codekidsTH/.ถ้าอยากให้ลูกๆของคุณเรียนเขียนโปรเเกรมเป็น สามารถเริ่มได้ตั้งเเต่ 6 หรือ 7 ได้เลย ลอง Inbox เข้ามาสอบถามได้นะคะหรือเว็บไซต์ CodeKids นี้ได้เลย มีความรู้ด้านการเรียนรู้การเขียนโปรเเกรมสำหรับเด็กๆมากมาย https://www.codekids.co

บทความที่เกี่ยวข้อง

pokémon-unplugged
คุณครู

แจกคู่มือใบงาน Pokémon Unplugged เกมฟรี!! 23 โปรเจคพร้อมเฉลย (ลิขสิทธิ์แท้แน่นอน)

CodeKids เราไปเจอของดีมาเลยอยากจะมาแนะนำต่อเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับคุณครูและผู้ปกครองนำไปใช้สอนเด็กๆ Unplugged Coding