วิธีการแก้ปัญหาแต่ละสเตป ที่ผู้ปกครองสามารถทดสอบกับน้องๆได้ไม่มีใครไม่รู้จักชื่อนี้ “ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร” ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เราต่างรู้กันว่าน้องๆทีมหมูป่า 13 ท่านติดอยู่ในถ้ำจะออกมาไม่ได้ ถ้าขาดหัวหน้าทีมอย่าง ท่านผู้ว่าฯและการแก้ไขปัญหาคิดอย่างเป็นระบบพร้อมทั้งทักษะการสื่อสาร การทำงานเป็นทีมนี่คือ Soft Skill อย่างแท้จริง!!
หลายคนคงถามว่า “เราจะทำได้อย่างไร?”
ถ้าหากเราเกิดปัญหาขึ้น เราจะจัดการกับปัญหานี้ได้อย่างไร?
วันนี้จะขอเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาที่เป็นระบบเผื่อผู้ปกครองลองเอาไปใช้กับน้องๆได้ ขอยกตัวอย่าง Computational Thinking หลักการคิดและคำนวณในการแก้สมการโจทย์ หรือที่เรา เรียกว่าปัญหานั่นเองค่ะ
ประกอบไปด้วย 4 ส่วนดังนี้ เริ่มจาก
การแบ่งปัญหาใหญ่ออกมาเป็นย่อยๆ โดยการนำเอาปัญหาใหญ่ๆมาแกะปัญหาทีละส่วน เช่น น้องได้โจทย์สมการตัวเลขที่ต้องวางตัวเลขลงในตารางให้ครบตั้งแต่ 1-6 โดยไม่ต้องเรียงกันก็ได้แต่ว่าต้องครบตั้งแต่ 1-6
โจทย์คือ
ทรัพยากรที่มีจำกัด ทางเราจะให้ตารางแนวนอนจำนวน 6 ช่อง และแนวตั้งจำนวน 6 ช่อง รวมกันเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส
จำนวน 36 ช่อง น้องๆ ต้องวางตัวเลขให้เรียบร้อยและไม่ซ้ำกัน เพราะในกระดานมีตัวเลข วางไว้บางช่อง เช่น 2 4 6 สลับกันไป
หลังจากนั้น น้องๆจะเริ่มมองแล้วว่าจะวางแนวตั้งหรือแนวนอนก่อนแยกออกมาทีละช่อง ตั้งแต่แนวตั้งกับแนวนอน
จะเริ่มจากตรงไหนก่อนดี
2.Pattern Recognition การสังเกตความเหมือน
การสังเกตความเหมือนและความแตกต่างในข้อมูลที่เรามีเช่นจากตารางเลขที่ให้มามีเลขตัวไหนบ้างที่วางแล้ว
อะไรที่เหมือนกัน และเริ่มจากเลขที่ 1 แล้วค่อยวางตัวเลขไปทีละตัว
3.Abstraction การตั้งสมมติฐาน
ในการแก้ไขปัญหา ลองจิตนาการจากสิ่งที่มีว่าจะแก้โจทย์แบบนี้อย่างไรบ้าง ลองจิตนาการว่าถ้าวางตัวเลข 1-6
แล้วจะเป็นอย่างไร? มีช่องที่เลขซ้ำกันหรือไม่? แล้วลองมองใหม่เพื่อหาความเป็นไปได้
4.Algorithm Design การวางโครงสร้าง
การวางโครงสร้างลงมือทำน้องๆจะเริ่มเรียงเลขที่คิดว่าน่าจะใช้ จาก 1-6 แล้วเริ่มกลับเข้ามาที่ 1 อีกครั้ง
ทำไปเรื่อยๆจนหาจุดที่ถูกต้องหรือที่เรียกว่าสามารถแก้สมการได้แล้ว
“นี่ละคะคือศาสตร์ของ Computational Thinking ที่จะช่วยให้น้องๆ แก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบมากขึ้นสิ่งเหล่านี้
ต้องเริ่มจากเด็ก เริ่มฝึกที่ละเล็กละน้อยเมื่อเจอปัญหา หรือโจทย์น้องๆสามารถทำได้โดยเป็นระบบค่ะ”