ทำไมผู้ปกครองควรรู้ !! ว่าเด็กๆถึงได้ชอบเล่น ROBLOX

ทำไมเด็กๆถึงได้ชอบ ROBLOX อ่านว่า (โร-บล็อกซ์)

ช่วงโควิดคือช่วงที่เด็กได้มีเวลาในการเรียนที่บ้าน และแน่นอนเวลาต้องเหลือเยอะ หรือแม้แต่พอเปิดเทอมมา ทำไมลูกของเราอยากเล่น ROBLOX เพราะบอกว่าเพื่อนในห้องเล่นกันหมด

ทำไมเด็กๆถึงได้ชอบ ROBLOX

ในวันนี้ทาง CodeKids จะมาบอกข้อดีและข้อเสียของ ROBLOX เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจ เตรียมตัวในการสื่อสารกับน้องๆ เพราะถ้าน้องๆไม่เล่นน้องจะไม่มีเรื่องไปคุยกับเพื่อน หรือตอนเรียนเขาจะไม่ได้เรียน เพราะใจเขาคิดว่าจะรอช่วงเบรคเพื่อให้เล่น ROBLOX ได้อย่างไร เนื่องจากเวลาว่างเขาไม่มีโอกาสได้เล่น

ROBLOX คืออะไร

ROBLOX คือเกมออนไลน์ที่ให้น้องใช้จินตนาการต่างๆ ไปทำกิจกรรมร่วมกันกับผู้เล่นคนอื่นๆ ถูกก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2004 (16 ปีที่แล้ว) และเป็นที่แพร่หลายในปี 2006 (14 ปีที่แล้ว) ก่อนหน้านี้คนที่เล่นคือผู้ชาย แต่หลังๆด้วยความที่สีสันสวยงามมาก มีเพลงที่น่ารัก ส่งผลให้มีน้องผู้หญิงมากขึ้นและที่สำคัญมีเด็กๆเข้าไปเล่นเยอะขึ้นอีกด้วย

ROBLOX ใช้โปรแกรมอะไรในการเขียน

ROBLOX ไม่ได้ใช้ Scratch ไม่ได้ใช้ Python แต่ใช้โปรแกรม LUA อ่านว่า “ลัว” ซึ่งคนที่จะเขียนโปรแกรมนี้ได้ต้องผ่านด่าน javascript, CSS, หรือแม้แต่ PYTHON มาอย่างช่ำชอง

ส่วนทีม CodeKids เองก็มีความสนใจในโปรแกรม LUA และก็เรียนมาบ้าง แต่ความท้าทายไม่ใช่การเขียนโปรแกรม แต่เป็นการออกแบบ Gamification อ่านว่า เกมมิฟิเคชั่น ให้คนอยากเข้ามาเล่น ให้สนุก และให้ชวนเพื่อนคนอื่นเข้ามาเล่นให้นานที่สุดและที่สำคัญต้องขายของได้จากการเพิ่มไอเทมให้เด็กมีความพิเศษ

เช่น
ต้องซื้ออาหารให้สัตว์เลี้ยง
ต้องซื้อของเพิ่มเพื่อไปผ่านด่านต่อไปให้ได้ เป็นต้น

การชุมนุม, ช่างไม้, การก่อสร้าง, งานฝีมือ, ช่างฝีมือ

แล้ว ROBLOX มีข้อดีอะไรบ้าง?

1. ฝึกให้เด็กมีเป้าหมายในการเล่นแต่ละครั้ง

เช่น เล่นได้เร็วขึ้น เล่นได้เก่งขึ้น เข้าไปเล่นกับเพื่อน หรือมีภารกิจที่เราต้องทำให้ได้ในแต่ละวัน อย่าง ADOPT ME อ่านว่า (อะดอพ-มี) เป็นการจำลองสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน ว่าเราตื่นมาต้องอาบน้ำ ไปโรงเรียน ไปโรงเรียนต้องทำอะไรบ้าง

2. ความคิดสร้างสรรค์

ด้วยการออกแบบที่สวยงาม เด็กสามารถจินตนาการได้อย่างเต็มที่เด็กสามารถสร้าง AVATAR ของตนเอง เราสามารถเห็นตัวตนของลูกเราผ่านการเล่นเกม เช่น ตัวละครเขาทำไมต้องมีปีก ทำไมต้องแปลงเป็นเด็ก ทำไมต้องเลือกตัวนี้ เพราะเขาเลือกตัวในอย่างที่เขาอยากเป็น

3. การสื่อสาร

ได้มีโอกาสดูน้องๆหลายคนเล่นด้วยกัน เขาทำงานกันเป็นทีมมากตัวอย่าง ADOPT ME เช่น ไปห้องนอนเดียวกัน ช่วยกันเข้านอน ไปโรงเรียนกับเพื่อน ปกป้องเพื่อน หรือบางทีมีการฝึกการเทรดแลกเปลี่ยนสิ่งของจากสิ่งทีม

4. การพิมพ์ดีด

ช่องซ้ายด้านบนของจอมีการพูดคุยกันของแต่ละห้องที่น้องเข้าไปเล่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ ทำให้น้องฝึกพิมพ์ดีดในการสื่อสารได้เร็ว และเข้าใจภาษาอังกฤษได้เร็วขึ้น

5.การมีตัวตน

ตามธรรมชาติของมนุษย์คืออยากเป็นที่ยอมรับ ดังนั้นข้อนี้ค่อนข้างละเอียดอ่อนนิดนึงนะคะเด็กๆต้องมีเรื่องไปคุยกับเพื่อน ถ้าเขาไม่ได้เล่นเขาไม่มีเรื่องไปเล่าหรือพูดคุยกับเพื่อนที่โรงเรียน

ดังนั้น เรื่องเกมถือเป็นเรื่องใหญ่สำหรับพวกเขา เพื่อให้เขาเป็นที่ยอมรับ หากที่บ้านเด็กๆได้ฝึกให้มีจิตใจที่แข็งแรง เขาสามารถอยู่ได้ทุกที่ทุกสถานการณ์โดยไม่ต้องเล่นตามใคร และบางที ROBLOX อาจจะไม่จำเป็นสำหรับเขาส่วนตัวทางเราเคยเจอนะคะ แต่น้อยมากและต่อก็คือ

5 สิ่งที่ต้องระวังเมื่อลูกของคุณเล่น ROBLOX

1. สายตา

อ้อมเองก็เคยเล่นเป็นชั่วโมง ผลปรากฏว่าสีสันที่สวยงาม ฉูดฉาดทำให้เสียสายตา ต่างจากโปรแกรมที่สอนเขียนโค้ด เพราะออกแบบมาให้ถนอมสายตา ทำให้น้องอาจจะเวียนหัว เครียดได้ จนมาต่อข้อที่ 2

2. นิ้วมือ

หากน้องที่อายุ 4-7 ปี ต้องเล่น iPad แนะนำให้ใช้ที่เป็น mini เพราะนิ้วมือเล็กมากการเล่นด้วย iPad mini จะดีกว่า หากน้องเล่นผ่าน iPad ขนาดใหญ่ น้องต้องกางนิ้วทำให้น้องสามารถมีอาการนิ้วล็อคได้ อาการนิ้วล็อค คือ สามารถชาตรงปลายนิ้ว กล้ามเนื้อนิ้วมืออ่อนแรงส่งผลให้จับของไม่มีแรงถือ และถ้าน้องนิ้วล็อคมากๆอาจจะลามกระดูกที่ต้นคอจากการที่ไม่ได้เดินหรืออกกำลังกาย ต้องงดเล่นและเดินบ้างถึงจะดีนะคะ

3. คำหยาบ

เราห้ามลูกเราพูดคำหยาบได้ แต่เราไม่สามารถห้ามเพื่อน หรือผู้เล่นคนอื่นในเกมได้ หน้าที่ของผู้ปกครองให้เด็กยอมรับความจริง เปรียบเทียบว่าการพูดคำหยาบไม่ดียังไง ทำไมเพื่อนพูดได้แล้วเราพูดไม่ได้เพราะอะไร เปรียบเทียบให้น้องเห็นความแตกต่างของมนุษย์

4. เด็กจะติด Youtube มากขึ้น

เพราะเขาต้องการเล่นเกมให้ผ่าน เพราะถ้าเขาผ่านเขามีเรื่องไปคุยกับเพื่อน เขาเอาความสามารถที่มีไปช่วยเพื่อน หรือสอนเพื่อน และเขาจะไปดูที่ไหนได้ ใช่ค่ะ เขาต้องไปดูที่ Youtube ติดตามคนที่เล่น ROBLOX เก่งๆ ดูรีวิวแล้วเอาไปเล่นตาม

5. อารมณ์สวิงขึ้น

เพราะการที่ต้องไปแต่ละด่าน การที่เขาไม่ผ่านเหมือนเขาแพ้ และเขาต้องพยายามผ่านด่านนั้นหลายเท่า บางด่านต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมง เกิดการกดดัน ความเครียด ส่งผลให้เขาอารมณ์โมโหง่ายขึ้น และบางทีเขาทำโดยที่เขาไม่รู้ตัว

โดยเฉพาะการจำกัดเวลาเล่น อาจจะใช้ไม่ได้ใน ROBLOX เพราะเขาวัดจากการทำภารกิจ ไม่ได้นับจากเวลาดังนั้นเด็กสามารถใช้เวลามากกว่าเดิม หากเจอเหตุการณ์ที่ต้องให้เขาเลือกเล่น ลองใช้คำพูดที่เขาได้ตัดสินใจเอง เช่น อาจจะเปลี่ยนคำพูดจากคำว่า ” 5 นาที ต้องเลิกแล้วนะ ” เปลี่ยนเป็น ” ด่านนี้ไม่เกิน 2 ครั้งห้ามเกิน 10 นาที แล้วถ้าไม่ผ่านค่อยมาเล่นใหม่ ” จะดีกว่าค่ะหวังว่าบทความนี้น่าจะเป็นประโยชน์นะคะ ต่อผู้ปกครองที่มีเด็กเล่นเกม ROBLOCK นะคะ

ขอบคุณที่ทุกการติดตามนะคะเเละขอให้สนุกกับการเรียน Coding ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

pokémon-unplugged
คุณครู

แจกคู่มือใบงาน Pokémon Unplugged เกมฟรี!! 23 โปรเจคพร้อมเฉลย (ลิขสิทธิ์แท้แน่นอน)

CodeKids เราไปเจอของดีมาเลยอยากจะมาแนะนำต่อเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับคุณครูและผู้ปกครองนำไปใช้สอนเด็กๆ Unplugged Coding