ทำความเข้าใจเด็กยุค Generation Alpha ความท้าทายใหม่ในของโลกการศึกษา

Generation คือการแบ่งกลุ่มประชากรตามหลักประชากรศาสตร์โดยอิงจากลักษณะนิสัย แนวคิด วิถีชีวิต และช่วงอายุที่เติบโตมาในสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ การเปลี่ยนผ่านทาง innovation ทางอินเตอร์เน็ตของยุคสมัยจึงทำให้กำเนิด Generation Alpha เจเนอเรชั่นอัลฟ่า หรือเรียกย่อๆ ว่า (Gen Alpha) กลุ่ม Generation Alpha คือผู้ที่เกิดในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2553 เป็นกลุ่มที่เกิดมาในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมีเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต มีความคิดเป็นของตัวเอง และยอมรับในความหลากหลาย ซึ่งมาจากการเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมและคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นปัจจุบันกลุ่มนี้คือเด็กและเยาวชนที่กำลังก้าวเข้าสู่ระบบการศึกษา

รูปแบบของการศึกษาในยุค Generation Alpha นั้น การศึกษาจะมีความเป็น Project Base มากขึ้นและมีความเฉพาะบุคคลและเฉพาะทาง โดยพวกเขาสามารถที่จะศึกษาหาความรู้ได้จากโลกออนไลน์ตามความสนใจโดยไม่จำเป็นต้องเรียนรู้แค่ในห้องเรียน สำหรับ Generation Alpha เราอาจต้องมาค้นหาแนวการจัดการเรียนรู้ที่ให้เหมาะสมกันใหม่ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยและสถานการณ์โลกและในงานในอนาคตประเภทต่าง ๆ

Mark McCrindle นักประชากรศาสตร์ชื่อดังชาวออสเตรเลียเคยพูดบนเวที TEDx เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวที่น่าจับตาสำหรับเจนใหม่ที่กำลังเติบโตขึ้นในโลกโดย McCrindle คาดไว้ว่าทั่วโลกมีเจเนอเรชั่นอัลฟ่า (Gen Alpha) หรือเด็กที่เกิดหลังปีพ.ศ.2553 ถึง 2568 การเติบโตขึ้นพร้อมกับความรวดเร็วของอินเตอร์เน็ต

Mark McCrindle
ขอบคุณภาพจาก : https://markmccrindle.com/presentations/

ทำให้เด็ก Gen นี้มีกิจกรรมบนออนไลน์มากขึ้น มาเช็คดูมาลูกของคุณอยู่ใน Gen นี้หรือไม่

– จับโทรศัพท์ตลอดเมื่อมีเวลาว่าง

-เกิดมาก็อยู่กับเทคโนโลยี เช่น แท็บเล็ต , สมาร์ทโฟน

-ชอบดูวิดีโอใน Youtube , Facebook , หรือ Social media อื่นๆ

-ใช้โซเซียลเน็ตเวิร์คตั้งเเต่ยังเด็ก

จากการสำรวจเด็ก Gen นี้มีการใช้อินเตอร์เน็ตทุกวันเฉลี่ย 47.4% และมีแนวโน้มการใช้เพิ่มขึ้นอีก เราควรปรับการเรียนและการเลี้ยงดูเด็กเจเนอเรชั่นอัลฟ่า (Gen Alpha)  อย่างไร? การสอนรู้เท่าทันทักษะชีวิตแห่งอนาคต ทักษะแห่งการใช้ชีวิตด้วยความเข้าใจก็ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นเสมอไม่ว่าจะเป็นคนเจเนอเรชั่นไหน และสำหรับลูกๆใน Gen Alpha ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอย่างวันนี้ก็อาจเป็นผลให้ทักษะชีวิตบางอย่างพร่องลงได้ ซึ่งหากพ่อแม่มองเห็นก่อนรู้เท่าทันก่อนก็จะสามารถเติมเต็มและปูพื้นฐานให้ลงตัวเพื่อให้พวกเขารับมือกับชีวิตในวันข้างหน้า แม้รูปแบบการศึกษาจะเปลี่ยนไป แต่ก็ยังมีปัญหาที่ต้องพบเจอสำหรับเด็กใน Generation นี้ เช่น โรคสมาธิสั้นเทียมที่เกิดจาการใช้เทคโนโลยีอย่างไม่เหมาะสมหรือ Google Effect อ่านเพิ่มเติมได้ในนี้ :

https://www.codekids.co/parent/google-effect/

หรือการมีศีลธรรมบกพร่อง อันเป็นผลจากการเรียนรู้ด้วยตัวเองโดยไม่ผ่านการกลั่นกรองหรือชี้แนะ จึงเป็นเรื่องสำคัญของผู้ปกครองจะต้องเตรียมตัวรับมืออย่างเหมาะสมนักจิตวิทยา Nataliya Sirotich ได้แนะนำกฎ 3 นาทีในการดูแลเด็ก Gen นี้ที่จะทำให้ลูกไว้ใจคุณแม้ว่าพวกเขาจะโตขึ้นสิ่งสำคัญในการเลี้ยงดูลูกนั้นคือกฎที่ว่าคุณจะต้องไปอยู่กับลูกและพูดคุยกับพวกเขาเป็นเวลาสามนาทีทุกครั้งที่พวกคุณจากกันเป็นระยะเวลานานให้คุณลดระดับของสายตาลงไปให้เสมอกับเด็กๆให้ความรักแก่พวกเขาจะด้วยการกอดจูบหรือลูบหัวก็แล้วแต่หลังจากนั้นให้ถามพวกเขาว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างตอนที่คุณไม่อยู่เป็นเวลาราว ๆ 3 นาที โดยเฉพาะหลังจากกลับจากโรงเรียนหรือตอนคุณกลับมาจากงาน และ การยืดหยุ่นเป็นสิ่งสำคัญถึงแม้จะบอกว่าเวลาที่เด็กๆ ต้องการจากคุณนั้นก็เพียงแค่ 3 นาทีเท่านั้นแต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าให้คุณใช้เวลากับเด็กๆ เพียงสามนาทีเท่านั้น บางเรื่องที่เด็กๆ เล่านั้นอาจไม่สามารถจบได้ในเวลาสามนาทีจริงๆและไม่ว่ายังไงเด็กๆ ก็ต้องการความใส่ใจจากพ่อแม่อยู่ดี

กฎสามนาทีนั้นเอาเข้าจริงๆ แล้ว หมายความว่าคุณควรจะใช้เวลา “อย่างน้อย” 3 นาทีในการ “ตั้งใจฟัง” ลูกๆ หลังจากที่ไม่ได้เจอกันในระยะเวลาหนึ่งเพื่อที่จะรับข้อมูลสำคัญๆ จากเด็กๆ ให้ครบต่างหากค่ะ

รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี
รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ติดตามหมอเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.facebook.com/moraltouch/

สำหรับการสอนเด็ก Generation Alpha  รศ. นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม(องค์การมหาชน) การพัฒนาด้านพฤติกรรมจิตวิทยาเด็กวัยรุ่นและครอบครัวได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็ก Generation นี้ไว้เป็นแนวทางแบบบันได 3 ขั้น ซึ่งสามารถอธิบายในเชิงของการส่งเสริมด้านการเรียนการสอนได้ดังนี้

ขั้นที่ 1 รับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกของเด็ก คุณครูต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น หรือความรู้สึกของตัวเองต่อเหตุการณ์หรือเนื้อหาความรู้ต่าง ๆ เพื่อให้ได้ทราบถึงสิ่งที่นักเรียนรู้หรือความรู้สึกของนักเรียนต่อเหตุการณ์นั้น ๆ

ขั้นที่ 2 สะท้อนความรู้สึกของเราเอง หลังจากที่นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นแล้วคุณครูต้องสะท้อนความคิดเห็นของตัวเองลงไปประกอบด้วยเพื่อให้นักเรียนได้พิจารณาเปรียบเทียบและเลือกเฟ้นหาแนวทางที่เหมาะสมด้วยตัวของนักเรียนเอง

ขั้นที่ 3 ให้โจทย์ปัญหาแก่เด็กได้ลองคิด และแก้ไขจากมุมของตัวเด็กเองสิ่งนี้คือแบบฝึกหัด เมื่อนักเรียนได้แสดงความคิดเห็นและความรู้สึกของตัวเองควบคู่กับการสะท้อนของครูแล้ว การให้โจทย์ปัญหาหรือเหตุการณ์สมมุติง่าย ๆ จะช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดและพิจารณาด้วยตัวเองจากองค์ความรู้ที่มี

นอกจากนี้ยังมีทักษะและองค์ความรู้สำคัญที่ควรสอดแทรกไว้ในเนื้อหาหลักสูตรเรียนเพื่อส่งเสริมการศึกษาให้กับนักเรียนในยุค Generation Alpha  ซึ่งพิจารณาจากองค์ความรู้สำคัญ  2  เรื่องที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบันนั้น คือ เรื่องของทักษะบริหารจัดการตนเองขั้นสูง  EF (Executive Functions) และ ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 หรือ Computational thinking การคิดเชิงคำนวณ อย่าง Coding เป็นต้น  

8 เหตุผลว่าทำไมการเขียนโปรแกรมต้องเริ่มตั้งแต่เด็ก

การเขียนโปรแกรมช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหานอกจากสอนให้เด็กเขียนโปรแกรมแล้ว การเขียนโปรแกรมยังสอนให้เด็กๆใช้คณิตศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาด้วยเหตุผลและความสร้างสรรค์และนี่เป็นเหตุผลสำคัญที่ควรจะสอนในระบบการเขียนโปรแกรมในโรงเรียนเพื่อให้เด็กเรียนรู้ทักษะเหล่านี้ในขณะที่ยังเล็กอยู่

เหตุผลที่ 1 การเรียนเขียนโปรแกรมต้องเป็นโปรแกรมเมอร์หรือไม่?

ไม่จำเป็นเสมอไปแต่น้องสามารถเอาหลักการความคิดนี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จะดีกว่าไหมถ้าเด็กๆสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเองได้ตั้งแต่ยังเล็กและสามารถช่วยพวกเขาได้ใช้ชีวิตด้วยตัวเองแบบไม่ต้องห่วงนี่เป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่การเขียนโปรแกรมเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้

เหตุผลที่ 2 ได้รับความท้าทายและช่วยให้พวกเขาพัฒนาความยืดหยุ่น

หรือปล่อยวางจากความล้มเหลวเมื่อเด็กเรียนรู้การเขียนโค้ดเด็กๆสามารถพัฒนาจิตใจและปล่อยวางจากความล้มเหลวได้เร็วเพราะการเขียนโปรแกรมเราจะรันโปรแกรม เพื่อทดลองแต่ละบรรทัดดูว่าสิ่งที่เราเขียนถูกต้องหรือไม่การที่เขียนโปรแกรมหาก Error หรือ Debug ก็เป็นเรื่องที่เล็กน้อยมากในการค้นพบจุดเรียนรู้ที่ดีพวกเขาจะรู้ว่าความล้มเหลวไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่ไม่ดีพวกเค้าจะได้เรียนรู้หนทางใหม่ในการทำให้ดีขึ้น

เหตุผลที่ 3 ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการเขียนโค้ดได้

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สอนให้เด็กได้ลองทดลองของใหม่และทำให้พวกเขามีความมั่นใจในการสร้างสรรค์เหมือนกับการเรียนภาษาอื่นๆ เล่นดนตรี ได้เล่นอะไรใหม่ๆเพื่อเพิ่มแรงบันดาลใจโดยมีสิ่งใหม่เป็นแรงจูงใจ เมื่อทำบ่อยๆและมากพอ เด็กจะเรียนรู้วิธีการทำแบบนี้ได้โดยอัตโนมัติ

เหตุผลที่ 4 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นอนาคต

แน่นอนการเขียนโปรแกรมคือสิ่งที่พัฒนาในอนาคตและเป็นทักษะที่มีประโยชน์มาก เนื่องจากจำนวนธุรกิจใหม่ๆที่มากขึ้นและคงหนีไม่พ้นเทคโนโลยีเด็กที่เรียนรู้วิธีการเขียนโค้ดจะมีความได้เปรียบในชีวิตด้วยโอกาสการจ้างงานที่มากขึ้นและไม่ว่าจะเลือกอุตสาหกรรมไหน ความต้องการทางด้านการเขียนโปรแกรมก็ยังไม่ความต้องการทุกสายนี่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้การเขียนโค้ดเด็กทุกคนควรต้องเรียน

เหตุผลที่ 5 เสริมทักษะในซอฟต์แวร์ หรือ ฮาร์ดแวร์

ด้วยโอกาสในการทำงานที่เพิ่มขึ้นทุกวันจากการเรียนเขียนโปรแกรมเนื่องจากโปรแกรมเมอร์ที่มีคุณสมบัติเก่งๆรอบด้านยังหายากอยู่เงินเดือนของพวกเขาจึงอยู่ในระดับสูงหากเด็กๆ เรียนรู้การเขียนโค้ดตั้งแต่ยังเล็กทำให้พวกเขามีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นด้วยความสนใจในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และพัฒนาฮาร์ดแวร์ซึ่งจะนำไปสู่อนาคต

เหตุผลที่ 6 การเขียนโค้ดเสริมสร้างทักษะอื่นๆ

การเขียนโค้ดเป็นภาษาของคณิตศาสตร์ และสามารถใช้ได้กับทุกๆทักษะ เช่น เราสามารถพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของตนเองได้ในขณะที่เขียนโค้ดโดยไม่รู้ตัว (ซึ่งโค้ดคิดส์ หรือ CodeKids ก็ทำประจำ) พร้อมทั้งเด็กๆ สร้างบางสิ่งบางอย่างของตัวเองสามารถทำให้คณิตศาสตร์มีส่วนร่วมและสนุกมากขึ้น

เหตุผลที่ 7 การเขียนโค้ดช่วยให้เกิดความสนุกสนาน

จะดีหรือไม่ที่เรียนไปด้วยและได้ทำเกมส์สนุกๆหรือกิจกรรมที่เสริมทักษะสมองผ่านการโค้ดการเขียนโค้ดช่วยให้การเรียนสนุกขึ้นจากการเล่นและดีไซน์กิจกรรม

เหตุผลที่ 8 ทำไมการเขียนโปรแกรมสำคัญที่ต้องเรียนรู้

เราพอจะรู้ว่าการเขียนโปรแกรมทำให้เด็กสนุกขึ้นมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น พร้อมกับยังสามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้และหากรู้ยังมีความได้เปรียบในชีวิต และได้โอกาสก้าวหน้ามากกว่าผู้อื่นในอนาคตทำไมเราถึงจะไม่ให้ลูกของเราเรียน

สิ่งที่พ่อแม่ยุคใหม่ควรให้ความสำคัญเสมอ คือ การมองลูกๆ ด้วยความเข้าใจผ่านการใช้หัวใจ เพียงแค่ “เชื่อในสิ่งที่เค้ารักเพื่ออนาคตที่เค้าชอบ” พ่อแม่ก็จะมองเห็นว่าทักษะไหนที่ลูกขาด และควรเพิ่มเติม ทักษะไหนที่ลูกมี แล้วเราจะช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้กับลูกได้อย่างไร

โดยปกติกระบวนการทางสมองที่เกิดจากการนำความสามารถในการคิดหลากหลายรูปแบบมาใช้ในการคิดและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ รวมถึงการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

“การเล่น” เป็นวิธีง่าย ๆ และเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยเสริมสร้างให้เกิดพัฒนาการทางสมองและกระบวนการคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ๆ ได้

โดยช่วงอายุที่เหมาะสมต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์มากที่สุดคือช่วง 3-12  ปี เนื่องจากในช่วงอายุนี้เป็นช่วงที่สมองกำลังเรียนรู้จากสัมผัสทางร่างกายไม่ว่าจะเป็นจากการมองเห็น การสัมผัส การได้ยิน การดมกลิ่น การรับรส เพื่อให้ได้รู้จักกับสิ่งใหม่ ความรู้สึกใหม่ เสียงใหม่ กลิ่นใหม่ รสชาติใหม่ รวมถึงผู้คนใหม่ ๆ

ที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านสองทั้งในแง่ของ IQ และ EQ ได้อย่างดีเยี่ยมนั่นเอง CodeKids ขอเเนะนำ Class ที่เหมาะสำหรับน้อง 8-10 ปีสิ่งที่น้องๆ Gen Alpha จะได้คือ

-การเรียนรู้ทักษะ เรียน + เล่น กับ Coding

-ได้นำ “วิทยาการคำนวน” ที่กระทรวงศึกษาธิการได้บรรจุลงในหลักสูตรการศึกษานำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก :

-. https://brightside.me/inspiration-family-and-kids/a-psychologist-revealed-a-3-minute-rule-that-all-parents-should-follow-514660/

.- https://www.trueplookpanya.com/education/content/76263/-teaartedu-teaart-

บทความที่เกี่ยวข้อง

pokémon-unplugged
คุณครู

แจกคู่มือใบงาน Pokémon Unplugged เกมฟรี!! 23 โปรเจคพร้อมเฉลย (ลิขสิทธิ์แท้แน่นอน)

CodeKids เราไปเจอของดีมาเลยอยากจะมาแนะนำต่อเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับคุณครูและผู้ปกครองนำไปใช้สอนเด็กๆ Unplugged Coding