10 Checklist Digital literacy สำหรับเด็กวัย 4-12 ปีในยุคเทคโนโลยี มีอะไรบ้างที่ต้องดูมาเช็คดูกัน!!

ปี 2022 นี้เราก็อยู่ในยุคเทคโนโลยีและ Digital literacy สำหรับเด็กวัย 4-12 ปีเราลองมาเช็คดูกันค่ะว่ามี Checklist อะไรที่ต้องที่ต้องเตรียมตัวและระมัดระวังกันบ้างเมื่อเด็กๆอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีมากขึ้นเรามาดูเช็ค List กันค่ะมา 10 ตามมามีอะไรบ้าง ?

Digital literacy สำหรับเด็กวัย 4-12 ปี
Digital literacy สำหรับเด็กวัย 4-12 ปี

Digital literacy คืออะไร

Digital literacy หมายถึงการรู้ทักษะดิจิทัลเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์,โทรศัพท์, แท็บเล็ต,โปรแกรมคอมพิวเตอร์,อินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเข้าใจและใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ใช้ความรู้ด้านไอทีให้ได้มากกว่าแค่ความบันเทิงก็จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมเพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่ยุคต่อไปเสมอกับสิ่งที่ต้องกังวลเมื่อลูกของคุณกำลังเข้าสู่เทคโนโลยีโดยเฉพาะน้องที่กำลังเข้าสู่วัยเรียนเริ่มจาก

1.เวลาหน้าจอที่มากเกินไป

เราควรแบ่งเวลาให้ลูกของเราได้เล่นกับเทคโนโลยีบ้างเพื่อให้เขาเข้าใจปุ่มสัญลักษณ์และเริ่มใช้เทคโนโลยีเป็นเพราะเมื่อถ้าเด็กๆไม่เคยแตะเทคโนโลยีไม่ว่าจะ iPad หรืออันอื่นเลยเขาจะเรียนช้ากว่าคนอื่นแต่ทั้งนี้เราต้องมีขอบเขตในการใช้งานโดยเฉพาะเราต้องเล่นไปกับลูกด้วยค่ะ

2.เล่นเกมมากเกินไป

ต่อจากข้อที่ 1 เราสามารถให้ลูกของเราเล่นได้นะคะแต่เราต้องมีพื้นที่ให้เขาโดยต้องควบคุมเวลากับเขาคอยดูช่องที่เขาชอบและไอดอลที่เขาสนใจ พร้อมให้คำแนะนำอย่างน้อยคุยภาษาเดียวกันกับเขาหรือเราสามารถใช้เวลาเล่นเกมร่วมกับลูกได้การทำแบบนี้ยุคนี้ถือเป็นการหากิจกรรมร่วมกับเด็กๆได้เลยนะคะเพราะเกมสมัยนี้ทั้งมีประโยชน์และสนุกอีกด้วยแถมยังจะช่วยให้เขารู้ด้วยว่าว่าอะไรที่ควรทำอะไรที่ไม่ควรทำทั้งนี้เพราะมีผู้ปกครองดูแลอย่างใกล้ชิด

3.ทักษะสังคมมีความเสี่ยงหรือไม่

เพื่อนที่น้องคบไม่ว่าจะออนไลน์หรือออฟไลน์เขามีลักษณะสังคมอย่างไรช่องที่เพื่อนติดตามใน Youtube มีพฤติกรรมที่เหมาะสมหรือไม่โดยเฉพาะคำพูดถ้าไม่ดีก็ต้องแนะนำว่าดูได้เข้าใจได้แต่อย่าทำตามเพราะในโลกความจริงเราห้ามลูกเราไม่ได้นะคะแต่เราต้องยอมรับความจริงว่าถึงลูกดูแต่ไม่ควรทำตามเพราะมันส่งผลกระทอะไรบ้างด้วยการอธิบายแบบเหตุและผล เช่น ช่องแคชเกมที่พูดหยาบคาย หรือ มีช่องที่ติดตามแล้วเราตามไม่มีมารยาทในสังคม “เราอาจจะค่อยตั้งคำถามกับเด็ก ๆ ว่าดูได้นะแต่ลองนึกดูว่าถ้าลูกมีช่อง Youtube แล้วพูดจาหยาบคายผ่านไป 10 ปีลูกได้เป็นคนใหญ่คนโตเป็นเจ้าของธุรกิจลูกอยากให้คนอื่นมองลูกแบบไหนบ้าง” แล้วลองฟังคำตอบของลูกกันนะคะ

4.ความปลอดภัยของอินเตอร์เน็ต

เคยมีเคสนักเรียนของ CodeKids ผู้ปกครองเล่าให้ฟังว่าน้องเคยเอาบัตรเครดิตของพ่อแม่มาสมัครซื้อไอเทมเกมและรู้หรือไม่เราสามารถบันทึกรหัสบัตรเครดิตอัตโนมัติบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราแล้วเราจะไว้ใจอินเตอร์เน็ตได้อย่างไร โดยเฉพาะเรื่องของข้อมูลทั้งนี้อยากให้ผู้ปกครองลองดูพฤติกรรมของลูกบนออนไลน์โดยเฉพาะข้อมูลส่วนตัวและการเงินนะคะเพื่อดูว่าเขามีความเข้าใจเรื่องของความปลอดภัยได้อย่างไร

5.การเรียนรู้แบบเก่าส่งผลกระทบกับลูกเราหรือไม่

หากที่โรงเรียนไม่เปิดพื้นที่ให้น้องใช้ความคิดสร้างสรรค์อาจส่งผลกระทบในการพัฒนาตนเองของยุคนี้เพราะไม่มีหลักการคิดนอกกรอบหรือในขณะเดียวกันความคิดที่อิสระเสรีมากเกินไปก็อาจส่งผลให้น้องใช้พื้นที่ออนไลน์ที่ไม่เหมาะสมทั้งนี้ผู้ปกครองเองต้องปรับสมดุลในการเรียนรู้ของเด็กในยุคเทคโนโลยีนี้ควบคู่ไปกับส่งเสริมและช่วยให้หางานอดิเรกอาจช่วยให้เขานำสิ่งที่ชอบออกมาใช้ให้เกิดผลลัพธ์ทางการเรียนรู้มากขึ้นโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกันจนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

6.เด็กสามารถโฟกัสจากสิ่งที่รบกวนได้หรือไม่

ยิ่งเทคโนโลยีเข้ามาเท่าไหร่สิ่งล่อใจย่อมเข้ามาใกล้เท่านั้นทั้งนี้ต้องฝึกดูพฤติกรรมของลูกในการที่เขามีสิ่งภายนอกมากระทบในขณะที่กำลังทำอะไรบางอย่างดูว่าเขามีสมาธิในการจัดการหรือไม่และหลังจากนั้นเขาทำอย่างไร

7.เรียนรู้อย่างสนุกกับการใช้เทคโนโลยีอยู่ไหม

มีช่วงหนึ่งที่ทาง CodeKids เปิดสอนคลาส Python แล้วมีน้องที่มาจากต่างจังหวัดมาเรียนกับเราน้องเรียนรู้ได้เร็วมากและเราเชื่อว่าอนาคตน้องไปได้ไกลแต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือพอน้องกลับไปครูที่โรงเรียนตอบไม่ได้เขาไม่มีแหล่งข้อมูลที่จะช่วยให้เรียนรู้ต่อและมองว่าพื้นที่เขียนโปรแกรมไม่เหมาะกับเขาทั้งนี้เราต้องการให้ข้อมูลการเรียนเขียนโค้ดไปถึงทุกช่วงวัย อย่างน้อยสภาพแวดล้อมจะช่วยให้น้องไปตามฝันได้เพียงแต่ต้องใช้เวลาและขอให้น้องอดทนหน่อยและสู้ไปกับพวกเรา

8.ผู้ปกครองแต่ละช่วงวัยต้องการอะไรจากลูกแต่ละช่วงวัย

เคยมีเหตุการณ์ที่น้องอายุ 9 ปี และคุณแม่เกือบ 50 ปีความห่างของอายุส่งผลเรื่องของการสื่อสารทั้งนี้ต้องแนะนำว่าผู้ปกครองต้องศึกษาโครงสร้างสมองเด็กและจิตวิทยาแต่ละช่วงวัยเพื่อเข้าใจพฤติกรรมและความคิดของเด็กในช่วงนั้นบวกกับผู้ปกครองต้องชัดเจนในตนเองว่าต้องการอะไรจากลูกคนนี้และลูกคนนี้ต้องรู้ด้วยว่าแม่ต้องการอะไรจากเขาความจริงอ้อมพูดละเอียดว่านี้แต่อยากให้ลองฟังจาก Podcast ของ Codekids ได้นะคะเพราะได้ความรู้สึกมากกว่าการอ่านค่ะ 😊

9.ทฤษฎี FOMO ส่งผลกระทบกับลูกของเราหรือไม่

ตามหลักของ Marketing คำว่า FOMO ย่อมาจาก Fear Of Missing Out คือ การขายความกลัวต่างๆกลัวว่าไม่ได้ซื้อกลัวว่าหายไปกลัวว่าไม่มีแล้วลองดูว่าลูกของเรามีพฤติกรรมแบบนี้รึเปล่าเพราะพฤติกรรมแบบนี้ส่งผลให้น้องเขาอดทนรอไม่ได้ค่ะเราต้องเข้าใจเรื่องนี้

10. ความสัมพันธ์ของผู้ปกครองและครู มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

การเรียนรู้ ความรู้หาได้จากที่โรงเรียน

การเรียนรู้ สังคม ความรักได้จากที่บ้าน

การเรียนรู้การใช้ชีวิตได้จากตัวเค้าเอง

ทั้งนี้สามส่วนนี้ต้องมีความสัมพันธ์กันไม่ควรมีอย่างใดอย่างหนึ่งและไม่ควรฝากไว้ที่ใดที่หนึ่งด้วยนะคะลองเช็คดูว่า 10 สิ่งนี้คือสิ่งที่เราต้องคำนึงมากๆ เมื่อลูกของเรากำลังเข้าสู่เทคโนโลยีที่เริ่มมีมากขึ้นและขยายขอบเขตขึ้นทุกวันดังนั้นเราจึงต้องเตรียมตัวและสอนเด็กๆให้อยู่กับเทคโนโลยีให้อย่างเหมาะสม

หากท่านใดสนใจให้ลูกหรือเด็กเขียนโปรเเกรมเป็นและได้รับการเรียนรู้ Coding และ Digital literacy สามารถเริ่มได้ตั้งเเต่ 6 หรือ 7 ขวบได้เลย ลอง Inbox เข้ามาสอบถามได้นะคะติดตามเราได้ที่เพจ: https://www.facebook.com/codekidsTH/

บทความที่เกี่ยวข้อง

pokémon-unplugged
คุณครู

แจกคู่มือใบงาน Pokémon Unplugged เกมฟรี!! 23 โปรเจคพร้อมเฉลย (ลิขสิทธิ์แท้แน่นอน)

CodeKids เราไปเจอของดีมาเลยอยากจะมาแนะนำต่อเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับคุณครูและผู้ปกครองนำไปใช้สอนเด็กๆ Unplugged Coding